มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมมีพันธกิจด้านการบริการวิชาการ โดยใช้แนวทางการบูรณาการ การเรียนการสอนกับการทำงานเชิงพื้นที่ (CRU CWIE Community) แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและ เศรษฐกิจสีเขียว [Bio-Circular-Green (BCG) Economy] และการทำงานเครือข่ายสีเขียว (Green Eco systems) เป็นแนวทางในการดำเนินงาน โดยมีวิธีการและแผนการดำเนินงาน ดังนี้
1. การกำหนดเป้าหมายและหลักการทำงานร่วมกันของภาคีเครือข่าย เพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
2. กำหนดเครือข่ายความร่วมมือในพื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ชุมชนเขตลาดพร้าว จตุจักร และชุมชนจังหวัดชัยนาท โดยมีเครือข่ายความร่วมมือสำคัญ 5 ส่วน ได้แก่

2.1) มหาวิทยาลัยประกอบด้วยคณะ สาขาวิชา คณาจารย์ นักศึกษา
2.2) ชุมชนท้องถิ่น ประกอบด้วยผู้นำชุมชน ปราชญชาวบ้าน วิสาหกิจชุมชน ประชาชน
2.3) หน่วยงานภาครัฐ ประกอบด้วยพัฒนาชุมชน ส่วนราชการในจังหวัด
2.4) องค์กรภาคประชาชน ประกอบด้วยหอการค้า มูลนิธิ
2.5) ภาคธุรกิจ ประกอบด้วยสถานประกอบการ

3. กำหนดเป้าหมายหลักการทำงานร่วมกันของภาคีเครือข่ายที่สำคัญ ดังนี้

3.1) การดำเนินการต้องเป็นไปเพื่อแก้ปัญหาหรือตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น
3.2) ใช้ทรัพยากร องค์ความรู้ และศักยภาพที่มีอยู่ในท้องถิ่น ชุมชน
3.3) ทุกภาคีใช้ศักยภาพที่มีเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น การจัดการศึกษา แลการพัฒนาของภาคีเครือข่าย
3.4) รักษาเพิ่มคุณค่า และมูลค่าเอกลักษณ์ ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาของท้องถิ่นชุมชน
3.5) การดำเนินการทั้งหมดต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้หลักการ BCG Economy

4. การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน ด้านการยกระดับมาตราฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน University as a marketplace ด้วยนวัตกรรมเครือข่ายสีเขียว (Green Eco systems) เกิดประโยชน์ ดังนี้

4.1) ชุมชนท้องถิ่น มีผลิตภัณฑ์ ตราสินค้า บรรจุภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน ที่ใช้วัตถุดิบ ทรัพยากรในท้องถิ่นและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ต่อยอดสู่การได้รับการรับรองผลิตภัณฑ์สีเขียว (Green Product)
4.2) ชุมชนท้องถิ่นมีช่องทางการจำหน่ายและการทำตลาดที่หลากหลาย
4.3) ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ ลดขยะ ลดความสูญเปล่า ทรัพยากร
4.4) เพิ่มรายได้บนฐานเศรษฐกิจสีเขียวที่ยั่งยืนให้แก่ชุมชน ชุมชนท้องถิ่นมีรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
4.5) พัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการให้กับคนในชุมชน
4.6) ประชาชนได้บริโภคสินค้า ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่า เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
4.7) ยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
4.8) เกิดเครือข่ายความร่วมมือบูรณาการการศึกษากับการทำงานในท้องถิ่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่เรียกว่านวัตกรรมเครือข่ายสีเขียว (Green Network)
4.9) นักศึกษา คณาจารย์ มีผลงานวิจัย นวัตกรรม และประสบการณ์การเรียนการสอนกับการทำงานเชิงพื้นที่

โทร. 0 2942 6800 ต่อ 7049-50 , 9021-25


email: qa@chandra.ac.th


LINE Official: https://lin.ee/JY1zsgm


ที่ตั้ง: อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

Template Settings
Select color sample for all parameters
Red Green Blue Gray
Background Color
Text Color
Google Font
Body Font-size
Body Font-family
Scroll to top